Sunday, November 30, 2008

การใช้ราชาศัพท์

ภาษาเป็นระบบและสัญลักษณ์ที่ใช้สื่อความหมายต่อกันระหว่างชนในชาติ ภาษาและตัวอักษรไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่บรรพบุรุษของคนไทยได้ค้นคิดประดิษฐ์ขึ้นแล้วสร้างสมและถ่ายทอดต่อกันมาจนถึงคนไทย

รุ่นปัจจุบัน ภาษาไทยมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกว่าภาษาอื่น จึงเป็นที่ชื่นชมและภาคภูมิของคนไทย ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญยิ่งของชาติ ภาษาไทยมีระดับของภาษา เช่นเดียวกับภาษาของชาติอื่นทั่วไป คือมีภาษาสุภาพที่ใช้สื่อสารในการพูด การเขียนระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อยและผู้น้อยกับผู้ใหญ่ ตลอดจนผู้ที่เสมอกันใช้ต่อกัน และมีภาษาสามัญคือภาษาปาก

ที่ใช้พูดจาย่อมเป็นของคู่กันที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชาติ และของบุคคลในชาติเป็นรายตัว



ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข ไทยมีภาษาสุภาพประเภทที่เรียกว่า “ราชาศัพท์” ซึ่งแปลว่าศัพท์หลวงสำหรับองค์พระมหากษัตริย์และราชวงศ์ แต่ราชาศัพท์ในปัจจุบันนี้หมายถึง

คำสุภาพที่ใช้ในภาษาราชการ ซึ่งรวมไปถึงศัพท์สุภาพที่ใช้กับบุคคลอื่น เช่น ข้าราชการ และภิกษุสงฆ์อีกด้วย



ฉะนั้นการใช้คำราชาศัพท์กับการใช้มารยาทต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็นวัฒนธรรม

ทางประเพณีงดงามภายในราชสำนัก และเป็นความรู้ที่ประณีตและพิเศษสำหรับบุคคลภายนอกราชสำนัก ที่ควร

รักษาไว้สืบไป

การใช้คำราชาศัพท์หมวดเครื่องอุปโภค บริโภค

ตรา = พระราชลัญจกร
กระโถนใหญ่ = พระสุพรรณราช
พานหมาก = พานพระศรี
กระโถนเล็ก = พระสุพรรณศรี
หมวก = พระมาลา
แว่นตา = ฉลองพระเนตร
ร่ม = พระกลด
มีดโกน = พระแสงกรรบิด
ช้อน = ฉลองพระหัตถ์ช้อน
น้ำหอม = พระสุคนธ์
ข้าว = พระกระยาเสวย
ยาถ่าย = พระโอสถประจุ
เหล้า = น้ำจัณฑ์
หม้อน้ำ = พระเต้า
ม่าน = พระวิสุตร
ประตู = พระทวาร
ปิ่น = พระจุฑามณี
ปืน = พระแสงปืน

การใช้คำราชาศัพท์

ใช้ ทรง นำหน้ากริยาธรรมดา เพื่อทำให้คำกริยาธรรมดากลายมาเป็นคำกริยาราชาศัพท์ สำหรับ พระราชา และเจ้านาย เช่น ทรงยินด ี, ทรงขว้าง , ทรงวาง , ทรงวิ่ง , ทรงยิง ,ทรงกรุณา , ทรงสามารถ ,ทรงกล่าว , ทรงอธิบาย , ทรงรับ , ทรงกระแอม , ทรงชุบเลี้ยง , ทรงฟัง.

ใช้ ทรง เป็นสกรรมกริยา นำหน้านามธรรมดาคือนำหน้าคำนามที่ไม่เป็นคำราชาศัพท์สำหรับพระราชาและเจ้านายมีความหมายได้หลายประการตามแต่นามอันเป็นกรรมจะบ่งถึง เช่น ทรงศีล (รับศีล) , ทรงบาตร (ตักบาตร) , ทรงธรรม (ฟังเทศน์) , ทรงม้า (ขี่ม้า) , ทรงรถ , ทรงปืน , ทรงสกี , ทรงดนตรี , ทรงเบ็ด , ทรงกีฬา , ทรงตะกร้อ ,ทรงศร

ห้ามใช้ ทรง นำหน้าคำกริยาราชาศัพท์ เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมคำว่าทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก ได้แก่คำต่อไปนี้ ตรัส , ดำรัส ประทับ (อยู่ , ยืน ,นั่ง) เสด็จ (ไป) สรง , สรงน้ำ กริ้ว เสวย โปรด ( รัก ,ชอบ ) ประชวร บรรทม รับสั่ง สุบิน ทอดพระเนตร (ยกเว้นคำเดียวคือ ทรงผนวช เพราะนิยมใช้กันมาอย่างนี้)

คำขึ้นต้น - ลงท้ายจดหมายถึงพระภิกษ

ผู้รับ สมเด็จพระสังฆราช
คำขึ้นต้น
: กราบทูล
คำลงท้าย
: ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

ผู้รับ สมเด็จพระราชาคณะ/พระราชาคณะ
คำขึ้นต้น
: นมัสการ
คำลงท้าย
: ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างยิ่ง

ผู้รับ พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป
คำขึ้นต้น
: นมัสการ
คำลงท้าย
: ขอนมัสการด้วยความเคารพ

คำราชาศัพท์หมวดคำกริยาของพระสงฆ์

คำสามัญ

คำราชาศัพท์

คำสามัญ

คำราชาศัพท์

เชิญไป(พระสังฆราช)

กิน(พระสังฆราช)

โกนผม
(พระสังฆราช)

ขออนุญาต(พระสังฆราช)

พูด(พระสังฆราช)

ตาย(พระสังฆราช)

รับเชิญ

สวดมนต์

กินอาหารเช้า

ตาย

ปฏิบัติอาจารย์

ไหว้พระสวดมนต์เช้า

บวชเป็นสามเณร

โกนผม

กราบทูลเชิญเสด็จนิมนต์

เสวย

ปลงพระเกศา

ขอประทานอนุญาต

ตรัส,ดำรัส

สิ้นพระชนม์

รับนิมนต์

เจริญพระพุทธมนต์

ฉันจังหัน

มรณภาพ,ถึงแก่กรรม

ถือนิสัย

ทำวัตรเช้า

บรรพชา

ปลงผม

รับเชิญ(พระสังฆราช)

ป่วย(พระสังฆราช)

โกนหนวด(พระสังฆราช)

ขอ(พระสังฆราช)

แต่งตัว(พระสังฆราช)

นอน

อยู่ประจำวัด

มอบให้

กินอาหารเพล

กิน

กราบ,ไหว้

ไหว้พระสวดมนต์เย็น

บวชเป็นพระภิกษุ

โกนหนวด

ทรงรับนิมนต์

ประชวร

ปลงพระมัสสุ

ขอประทาน

ทรงสบง,ทรงจีวร

จำวัด

จำพรรษา

ถวาย

ฉันเพล

ฉัน

นมัสการ

ทำวัตรเย็น

อุปสมบท

ปลงหนวด

คำสามัญ

คำราชาศัพท์

คำสามัญ

คำราชาศัพท์

แจ้งความผิด

เชิญ

แจ้งให้สงฆ์ทราบ

ถวายอาหารพระ,เลี้ยงพระ

อาบน้ำ

แต่งตัว

อาบัติ

อาราธนา

เผดียงสงฆ์

อังคาส

สรงน้ำ

ครองผ้า,ห่มจีวร

สึก

ซักผ้า

ยกของให้พระด้วยมือ

ป่วย

ยินดีด้วย

ขอให้

ลาสิกขา

สุผ้า

ประเคน

อาพาธ

อนุโมทนา

ขอถวาย

การใช้ถ้อยคำ คำนาม สำหรับพระภิกษุ

คำนาม

คำสามัญ

ราชาศัพท์

คำสามัญ

ราชาศัพท์

คำสอน(พระสังฆราช)

ธรรมาสน์(พระสังฆราช)

ที่นั่ง

เรือนที่พักในวัด

ห้องสุขา

คำแจ้งถวายจตุปัจจัย

สถานที่พระภิกษุใช้อาศัย

ยารักษาโรค

รูป

เครื่องใช้สอยของพระภิกษุ อย่าง(สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกน ประคดเอว เข็ม และผ้ากรองน้ำ)

พระโอวาท

พระแท่น

อาสนะ

กุฏิ

ถาน,เวจกุฎี

ใบปวารณา

เสนาสนะ

คิลานเภสัช

ลักษณนามสำหรับพระภิกษุ

อัฐบริขาร

คำสั่ง(พระสังฆราช)

จดหมาย(พระสังฆราช)

จดหมาย

ห้องอาบน้ำ

อาหาร

อาหารถวายพระด้วยสลาก

เครื่องนุ่งห่ม

คนรู้จัก

องค์

บิดามารดา

พระบัญชา

พระสมณสาสน์

ลิขิต

ห้องสรงน้ำ

ภัตตาหาร

สลากภัต

ไตรจีวร

อุบาสก,อุบาสิกา

ลักษณนามสำหรับพระพุทธรูป

โยม

คำราชาศัพท์หมวดอากัปกิริยา

ทาเครื่องหอม = ทรงพระสำอาง ทักทายปราศรัย = พระราชปฏิสันถาร

ถาม = พระราชปุจฉา ดู = ทอดพระเนตร

ให้ = พระราชทาน อยากได้ = ต้องพระราชประสงค์

ไปเที่ยว = เสด็จประพาส จดหมาย = พระราชหัตถเลขา

ไหว้ = ถวายบังคม แต่งตัว = ทรงเครื่อง

อาบน้ำ = สรงน้ำ มีครรภ์ = ทรงพระครรภ์

หัวเราะ = ทรงพระสรวล ตัดสิน = พระบรมราชวินิจฉัย