Sunday, November 30, 2008

การใช้คำราชาศัพท์

ใช้ ทรง นำหน้ากริยาธรรมดา เพื่อทำให้คำกริยาธรรมดากลายมาเป็นคำกริยาราชาศัพท์ สำหรับ พระราชา และเจ้านาย เช่น ทรงยินด ี, ทรงขว้าง , ทรงวาง , ทรงวิ่ง , ทรงยิง ,ทรงกรุณา , ทรงสามารถ ,ทรงกล่าว , ทรงอธิบาย , ทรงรับ , ทรงกระแอม , ทรงชุบเลี้ยง , ทรงฟัง.

ใช้ ทรง เป็นสกรรมกริยา นำหน้านามธรรมดาคือนำหน้าคำนามที่ไม่เป็นคำราชาศัพท์สำหรับพระราชาและเจ้านายมีความหมายได้หลายประการตามแต่นามอันเป็นกรรมจะบ่งถึง เช่น ทรงศีล (รับศีล) , ทรงบาตร (ตักบาตร) , ทรงธรรม (ฟังเทศน์) , ทรงม้า (ขี่ม้า) , ทรงรถ , ทรงปืน , ทรงสกี , ทรงดนตรี , ทรงเบ็ด , ทรงกีฬา , ทรงตะกร้อ ,ทรงศร

ห้ามใช้ ทรง นำหน้าคำกริยาราชาศัพท์ เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมคำว่าทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก ได้แก่คำต่อไปนี้ ตรัส , ดำรัส ประทับ (อยู่ , ยืน ,นั่ง) เสด็จ (ไป) สรง , สรงน้ำ กริ้ว เสวย โปรด ( รัก ,ชอบ ) ประชวร บรรทม รับสั่ง สุบิน ทอดพระเนตร (ยกเว้นคำเดียวคือ ทรงผนวช เพราะนิยมใช้กันมาอย่างนี้)

No comments: